คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจว่าอาหารของประเทศลาวก็คืออาหารอีสานของไทย ซึ่งนับว่าคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงมาก โดยทั่วไปแล้วร้านอาหารในลาวรสชาติมักไม่ค่อยจัดจ้าน มีรสธรรมชาติมาก เครื่องปรุงรสแต่เดิมใช้เกลือเพียงอย่างเดียว มาปัจจุบันชาวลาวทั้งประเทศนิยมใช้ผงชูรสกันมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติแล้วว่า ไม่ว่าเป็นอาหารใดก็ต้องใส่ผงชูรสไว้ก่อน เช่นเดียวกับเมืองไทยที่เรื่องวัฒนธรรมการกินอาหารถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ ภูมิภาค ชาวลาวภาคเหนืออย่างหลวงพระบางก็เช่นกัน จะมีลักษณะและรสชาติอาหารแตกต่างกันจากลาวภาคใต้อย่างแถบเมืองปากเซ สะหวันนะเขต หรือแม้แต่ลาวภาคกลางเช่นเมืองเวียงจันทน์ ท่าแขก
สำหรับร้านอาหารในลาวที่หลวงพระบางซึ่งถือว่าเป็นอาหารภาคเหนือของลาว รสชาติจัดว่าเบาที่สุดในบรรดาอาหารลาวทั้งสามภาค และเนื่องจากหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงของลาวอยู่เป็นเวลานาน แม้แต่ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง มีเมืองหลวงอยู่ที่เวียงจันทน์ แต่พระมหากษัตริย์และราชสำนักยังคงอยู่ที่หลวงพระบาง อาหารแบบหลวงพระบางจึงถูกเปรียบเทียบว่าเป็นอาหารของผู้ดีหรืออาหารชาววัง
อาหารหลวงพระบางแท้มีรสเบาไม่จัดจ้าน ไม่มีพริกแกง มักไม่ใช้การผัดหรือทอดน้ำมัน แต่ใช้การนึ่ง ต้ม เป็นส่วนใหญ่ วิธีการปรุงง่าย ไม่ซับซ้อน ยกเว้นอาหารของชาววังในราชสำนักจะมีขั้นตอนและวิธีการปรุงซับซ้อนขึ้นซึ่งทุกวันนี้อาหารชาววังตำรับหลวงพระบางสามารถหารับประทานได้ตามร้านอาหารในลาวบางแห่งในหลวงพระบางและเวียงจันทน์และอาหารลาวหลายอย่างอาจจะคล้ายอาหารอีสานของประเทศไทยเราโดยทั่วไปแล้วอาหารลาวรสชาติมักไม่ค่อยจัดจ้าน มีรสธรรมชาติมาก เครื่องปรุงรสแต่เดิมใช้เกลือเพียงอย่างเดียว มาปัจจุบันชาวลาวทั้งประเทศนิยมใช้ผงชูรสกันมากขึ้น ถึงขนาดร้านอาหารหลายร้านต้องมีกระปุกผงชูรสไว้บนโต๊ะกันเลยทีเดียว