สะหวันนะเขตเป็นเมืองหลวงของแขวง ชื่อตามทางการคือเมืองคันทบุลี แต่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า เมืองสะหวันนะเขต หรือ สะหวันเฉยๆ ประวัติศาสตร์เมืองสะหวันนะเขตเริ่มในสมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนี้มีชื่อว่า “สุวันนะพูมประเทศ”เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ พ.ศ. 2120 ท้าวหลวงและนางสิมได้อพยพผู้คนจากภาคเหนือลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่า หวงโพนเมืองสิม (ห่างจากตัวเมืองปัจจุบัน 18 กิโลเมตร) ครั้งถึง ฑ.ศ. 2185 ท้าวสิมพะลีบุตรชายได้พาชาวบ้านหลายสิบครอบครัว แยกออกไปตั้งเมืองใหม่ในเขตสะหวันนะเขตปัจจุบัน เรียกกันว่า บ้านท่าแร่ เพราะมีแร่ธาตุและทองคำอยู่มาก จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อฝรั่งเศสได้ครองลาว ก็ตั้งสำนักงานผู้ว่าราชการแผ่นดินประจำแขวงที่ท่าแร่และตั้งชื่อใหม่เป็นสะหวันนะเขตแต่นั้นมา จากเมืองสะหวันนะเขตมีทางหลวงหมายเลข 9 ตัดตรงไปยังชายแดนเวียดนามที่ลาวบาว ถนนสายนี้ช่วยให้การค้าระหว่างไทยกับเวียดนามเป็นไปโดยสะดวก ดังนั้นในโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร-เมืองสะหวันนะเขต จึงมีแผนสร้างทางต่อจากชายแดนของลาวไปยังเมืองดองฮาและดานังในเวียดนาม นอกจากเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าแล้ว ยังเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลสายแรกของลาว http://www.laohouseder.com/
พะทาดอิงฮัง / พระธาตุอิงฮัง ห่างจากเมืองสะหวันนะเขต 13 กิโลเมตร องค์พระธาตุสูง 25 เมตรเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 10-11 ตามตำนานพระอุรังคธาตุบอกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองล้านช้าง ได้ประทับยืนใต้ต้นรังทอดพระเนตรภูกำพร้ากลางแม่น้ำโขง แล้วทรงพยากรณ์ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในแดนนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระธาตุอิงฮังและพระธาตุพนมเป็นพระธาตุคู่แฝด พระธาตุอิงฮังได้รับการเคารพสักการะจากชาวลาวไม่น้อยกว่าพระธาตุหลวงในเวียงจันทน์ ทุกปีจะมีงานบุญนมัสการพระธาตุเป็นงานยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับที่ชาวไทยจัดงานประเพณีนมัสการพระธาตุพนม งานทั้งสองมีขบวนแห่เทียนและการฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุเช่นเดียวกันแต่งานพระธาตุอิงฮังจัดขึ้นก่อนช่วงกลางเดือนธันวาคม ส่วนพระธาตุพนมจะจัดในช่วงวันเพ็ญเดือนสาม (ประมาณกุมภาพันธ์) ของทุกปีเฮือนหินคือซากปราสาทขอมเก่าแก่ อายุพันกว่าปี อยู่ห่างจากสะหวันนะเขต ไปตามทางหมายเลข 13 ประมาณ 90 กิโลเมตร